วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

10 แนวโน้มที่โลกโซเชียลเน็ตเวิร์คกำลังมุ่งไป


  • บริษัทวิจัยตลาดออนไลน์ comScore ออกรายงาน It’s a Social World: Top 10 Need-to-Knows About Social Networking and Where It’s Headed อธิบายแนวโน้ม 10 ประการของโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่เริ่มแสดงตัวให้เห็นแล้วในปัจจุบัน และจะเด่นชัดยิ่งขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

1. โซเชียลเน็ตเวิร์คกลายเป็นกิจกรรมที่ผู้ใช้เน็ตให้เวลามากที่สุด

ในปี 2011 ที่ผ่านมานี้ กิจกรรมบนโซเชียลเน็ตเวิร์คคิดเป็น 19% หรือประมาณ 1 ใน 5 ของเวลาที่ผู้ใช้เน็ตล็อกอินเข้าสู่โลกออนไลน์ ซึ่งตัวเลขนี้เพิ่มจาก 7% เมื่อปี 2007 ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ส่วนกิจกรรมที่ผู้ใช้เน็ตใช้เวลารองลงมาคือการสื่อสาร (อีเมล+ข้อความสนทนา)

2. สัดส่วนและพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค แตกต่างกันอย่างชัดเจนในแต่ละประเทศ

ผู้ใช้เน็ตชาวสหรัฐ 98% ใช้บริการโซเชียลเน็ตเวิร์ค ในขณะที่จีนมีเพียง 53% และญี่ปุ่นมีเพียง 58% แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ก็มีสัดส่วนผู้ใช้งาน 94%
แต่ในภาพรวมแล้ว โซเชียลเน็ตเวิร์คก็เข้าถึงประชากรชาวเน็ตอย่างมาก comScore ได้สำรวจข้อมูลการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คใน 43 ประเทศ ผลคือมี 41 ประเทศที่มีผู้ใช้เน็ตใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คเกิน 85%
ประเทศที่ผู้ใช้เน็ตใช้เวลากับโซเชียลเน็ตเวิร์คมากที่สุดคืออิสราเอล 11.1 ชั่วโมง ตามด้วยอาร์เจนตินาและรัสเซีย แต่ถ้าคิดแยกตามภูมิภาคของโลก เอเชียแปซิฟิกใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพียง 11% ของเวลาทั้งหมดที่อยู่บนเน็ต ในขณะที่ละตินอเมริกา ตัวเลขนี้สูงถึง 28%
กลุ่มประเทศที่ใช้เวลากับโซเชียลเน็ตเวิร์คน้อยที่สุดคือเอเชียตะวันออก ซึ่งคาดว่าเป็นปัจจัยด้านวัฒนธรรมการใช้เน็ต มากกว่าเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางไอที
3. Facebook เป็นผู้นำสำคัญในทุกๆ เรื่องของโซเชียลเน็ตเวิร์ค
ปัจจุบัน Facebook เป็นเครือข่ายเว็บที่มีคนเข้าเป็นอันดับสามของโลก เป็นรองเพียงเว็บในเครือกูเกิลและไมโครซอฟท์เท่านั้น และในปีนี้ Facebook มีผู้ใช้เกินครึ่งของประชากรเน็ตโลกไปเรียบร้อยแล้ว โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใช้เน็ตใช้งาน Facebook คิดเป็นเวลา 3/4 ของเวลาที่ใช้กับโซเชียลเน็ตเวิร์คทุกชนิด
ถึงแม้ Facebook จะเป็นผู้นำในโลกโซเชียล แต่ก็ยังมีตลาดบางประเทศที่เจาะไม่เข้าเช่นกัน โดยปี 2010 Facebook เป็นผู้นำใน 30 ประเทศจาก 43 ประเทศที่ comScore เก็บสถิติ แต่ในปี 2011 นี้ Facebook สามารถโค่นผู้นำในแต่ละประเทศลงได้อีก 6 แห่ง เพิ่มจำนวนแชมป์เป็น 36 ประเทศจากทั้งหมด 43 ประเทศ
6 ประเทศที่ถูก Facebook ยึดครองตลาดได้แก่ โปรตุเกส เม็กซิโก เยอรมนี อินเดีย ไต้หวัน และเนเธอร์แลนด์
ประเทศที่ comScore สำรวจที่เว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คท้องถิ่นยังสามารถทานกระแสอันไหลบ่าของ Facebook อยู่ได้ มีเหลืออยู่ 7 ประเทศคือ บราซิล จีน ญี่ปุ่น โปแลนด์ รัสเซีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม ซึ่งถ้าดูจากกราฟจะพบว่าสถานการณ์ในบราซิลและโปแลนด์ เว็บท้องถิ่นกำลังจะเพลียงพล้ำให้กับ Facebook เช่นกัน

4. พลังแห่งไมโครบล็อก

ไมโครบล็อกหมายถึงการส่งข้อความขนาดสั้นๆ แบบที่ Twitter ใช้อยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้จะไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับ Facebook แต่ก็มีความสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้ ทุกวันนี้ Twitter เข้าถึงประชากรเน็ต 1/10 ของโลก และมีอัตราการเติบโตของผู้ใช้ที่ร้อนแรงคือ 59% ในรอบปีที่ผ่านมา
จุดที่น่าสนใจคือพลังของการเชื่อมโยงผู้ใช้ทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มเพื่อนเหมือนกับ Facebook ทำให้ Twitter สามารถสะท้อนความเห็นของชาวโลกต่อเหตุการณ์สำคัญๆ รอบโลก ไม่ว่าจะเป็นมหกรรมการแข่งขันกีฬา ข่าวการเสียชีวิตของคนดัง หรือเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลก
นอกจาก Twitter แล้ว โลกยังมีบริการไมโครบล็อกอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมในบางประเทศ เช่น Weibo ของจีน หรือ Tumblr ซึ่งมีความสามารถด้านมัลติมีเดียเยอะกว่า Twitter ในหลายด้าน

5. ตลาดใหญ่ของโซเชียลเน็ตเวิร์ค คือตลาดนอกสหรัฐอเมริกา

เดิมทีโซเชียลเน็ตเวิร์คมักจับกลุ่มตลาดผู้ใช้ในสหรัฐ ตามมาด้วยชาติตะวันตก แต่ในรอบปีหลัง ผู้ใช้กลุ่มใหญ่ของโซเชียลเน็ตเวิร์ครายใหญ่ของโลก กลับมาจากประเทศอื่นๆ นอกสหรัฐ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก
Facebook และ Twitter มีผู้ใช้จากนอกสหรัฐใกล้เคียงกันคือประมาณ 80% ส่วน Windows Live ของไมโครซอฟท์มีสัดส่วนถึง 90% ที่น่าสนใจคือ โซเชียลเน็ตเวิร์คจากนอกสหรัฐเองก็เริ่มมีผู้ใช้นอกประเทศของตัวเองมากขึ้น เช่น VKontakte ของรัสเซีย มีผู้ใช้ 43% ที่มาจากนอกรัสเซีย

6. โซเชียลเน็ตเวิร์ค ไม่ใช่เป็นแค่โลกของคนรุ่นใหม่เท่านั้น

ถึงแม้ในช่วงแรก กลุ่มผู้ใช้หลักของโซเชียลเน็ตเวิร์คจะเป็นเด็กและวัยรุ่น แต่ในรอบปีหลัง เราเห็นคนวัยทำงานเริ่มเข้ามา และยังมีกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้ามาใช้งานอย่างมีนัยยะสำคัญ
สถิติที่น่าสนใจอีกอันคือ ประชากรผู้ใช้เน็ตกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ในหลายๆ ประเทศมีสัดส่วนการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คที่สูงมาก เช่น ในสหรัฐ ประชากรผู้ใช้เน็ตที่อายุเกิน 55 ปีจำนวนถึง 94.7% ระบุว่าตัวเองใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ส่วนตัวเลขของละตินอเมริกาอยู่ที่ 93%

7. คนรุ่นใหม่หันมาสื่อสารด้วยโซเชียลเน็ตเวิร์คแทนอีเมล

การสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คเริ่มมาแทนการสื่อสารแบบเดิมๆ ในโลกไอทีอย่างอีเมลและการส่งข้อความด่วน (instant messaging) โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับโลกดิจิทัล (digital native)
ผลการสำรวจของ comScore ในกลุ่มผู้ใช้เน็ตอายุ 15-24 ปี พบว่าการใช้อีเมลลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ และการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอายุ

8. โซเชียลเน็ตเวิร์คเริ่มยึดวงการโฆษณาออนไลน์ในสหรัฐ

สถิติของ comScore ระบุว่าตอนนี้วงการโฆษณาออนไลน์สหรัฐ แสดงโฆษณา 1 ใน 4 บนโซเชียลเน็ตเวิร์ค และ 5% ของโฆษณาทั้งหมดในโลกออนไลน์ของสหรัฐ มีความเป็น “โซเชียล” คือเชื่อมต่อกับเครือข่ายเฟซบุ๊กหรือโซเชียลเน็ตเวิร์คอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโซเชียลเน็ตเวิร์คจะมีส่วนแบ่งในแง่ “จำนวนครั้ง” ของการโฆษณา แต่ในแง่ “จำนวนเงิน” ของโฆษณากลับยังดึงดูดได้ไม่เยอะเท่าใดนัก คือเพียง 15% ของเม็ดเงินโฆษณาออนไลน์เท่านั้น (หมายเหตุ ไม่นับรวมโฆษณาผ่านระบบค้นหาแบบที่กูเกิลใช้)

9. ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่า เว็บไหนจะดังต่อจาก Facebook

ตอนนี้ชัดเจนแล้วว่า Facebook เป็นราชาแห่งโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คเต็มตัว สามารถเอาชนะคู่แข่งอื่นๆ และผงาดขึ้นมาเป็นแชมป์แบบทิ้งห่าง แต่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีเว็บไซต์หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ครายไหนเจริญรอยตาม Facebook ได้แบบเดียวกันบ้าง
ปี 2011 ยังเป็นปีที่เราได้เห็นการเปิดตัว Google+ ของกูเกิล ซึ่งมาแรงในช่วงแรก และมียอดสมาชิกแตะ 25 ล้านรายเร็วกว่าใคร (เร็วกว่า Facebook/Twitter ในอดีตมาก) อย่างไรก็ตาม เส้นทางของ Google+ ยังต้องสู้อีกยาวไกล กว่าจะขึ้นไปทาบรัศมี Facebook ในปัจจุบันได้
กลุ่มบริการโซเชียลเน็ตเวิร์คอื่นๆ ก็มี Twitter กับ LinkedIn ที่มีฐานผู้ใช้เยอะที่สุด (แต่ยังห่างกับ Facebook มาก) ส่วนเว็บที่เติบโตเร็วก็อย่างเช่น Tumblr และ Weibo ที่มีอัตราการเติบโตเกิน 100% ต่อปี

10. เทคโนโลยีมือถือจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนโซเชียลเน็ตเวิร์ค

เทคโนโลยีมือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กำลังเป็นปัจจัยสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการขับเคลื่อนการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค โดยมีผู้ใช้ที่ระบุว่าใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คบนมือถือมากขึ้นเรื่อยๆ
กลุ่มผู้ใช้มือถือ 64% ในสหรัฐ ตอบคำถามว่าใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คบนมือถือเป็นประจำทุกเดือน
ส่วนบริการอย่าง Facebook และ Twitter ก็มีสถิติว่าคนยังใช้ผ่านเบราว์เซอร์เป็นหลัก แต่คนที่ใช้ผ่านมือถือ (ไม่ว่าจะเป็นเว็บบนมือถือหรือแอพ) ก็มีเยอะขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
รูปแบบการใช้งาน social network บนมือถือยังเน้นไปที่การอ่าน-อัพเดตสถานะในหมู่เพื่อนๆ และติดตามข่าวสารอื่นๆ ส่วนการเช็คอินข้อมูลสถานที่ยังมีผู้ใช้ไม่เยอะมากนัก รวมไปถึงการหาส่วนลดของบริการร้านค้าต่างๆ

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การใช้สื่อสังคม (Social Media) และเครือข่ายสังคม (Social Networking)


  1. การใช้สื่อสังคม (Social Media) และเครือข่ายสังคม (Social Networking) ในองค์กร (อย่างเหมาะสม)


           ปัจจุบันกระแสการใช้สื่อสังคม (Social Media) และเครือข่ายสังคม (Social Networking) อย่าง Facebook, Twitter, Youtube ได้รับความนิยมสูงมาก ทั้งในรูปแบบการใช้ส่วนบุคคล โครงการ จนถึงระดับองค์กร มีการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานด้วยผ่านสื่อสังคม เครือข่ายสังคมอย่างต่อเนื่อง และจำนวนมาก บุคลากรขององค์กรสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์ facebook และนำเสนอเนื้อหา ข้อมูลของตนเองผ่าน facebook ควบคู่กับเว็บไซต์หลักที่มีอยู่เดิม รวมทั้งยังมีอีกหลายหน่วยงานสนใจดำเนินการเพิ่ม สาเหตุหลักก็ไม่น่าจะพ้นไปจากการปรับบทบาทการบริการ การประชาสัมพันธ์ให้ทันต่อเทคโนโลยีและตอบรับกับแนวคิดการบริการ การประชาสัมพันธ์เชิงรุก อย่างไรก็ดีอยากให้ผู้บริหาร บุคลากรหน่วยงานที่สนใจลองพิจารณารายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติม  ดังรายละเอียด
  • หน่วยงานทราบหรือยังว่าประเด็นสำคัญของบริการสื่อสังคม เครือข่ายสังคม คืออะไร มีจุดเด่น จุดด้อย ข้อควรระวังเรื่องใดบ้าง
  • หากหน่วยงานได้ศึกษาประเด็นนี้อาจจะช่วยให้การใช้สื่อสังคม เครือข่ายสังคม เพื่อเผยแพร่สารสนเทศเป็นไปตามว้ตถุประสงค์และปลอดภัยด้วยครับ
  • ใครเป็นผู้รับผิดชอบการเผยแพร่สารสนเทศหน่วยงาน
  • อีเมลที่ใช้สมัครเป็นสมาชิก ไม่ควรใช้อีเมลส่วนตัวของคนใดคนหนึ่ง รวมทั้งไม่ควรใช้ Group Mail ทั้งนี้หน่วยงานน่าจะสร้างอีเมลเฉพาะสำหรับการใช้สมัครสมาชิกสื่อสังคม เครือข่ายสังคม
  • เนื้อหาที่นำเสนอ นอกจากข้อมูลหน่วนงานแล้ว ควรนำเสนอเนื้อหาอื่นๆ ตามวาระ เทศกาลสำคัญ รหมุนเวียนแนะนำอย่างสม่ำเสมอ แทนที่จะใช้เป็นช่องทางพูดคุยอย่างเดียว เดี๋ยวจะเหมือนกับใช้ Facebook เป็น MSN ไปซะนะครับ
  • รูปภาพ จุดเด่นของสื่อสังคม เครือข่ายสังคมอย่าง Facebook คือการทำคลังภาพ ดังนั้นหากมีกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงาน การเข้าเยี่่ยมชม การจัดกิจกรรมสัมมนา รวมถึงมุมสวยๆ ของหน่วยงาน น่าจะนำมาเผยแพร่และใส่คำอธิบายให้เหมาะสม เพื่อให้เนื้อหาไม่ได้มีเฉพาะข้อความไงครับ
    • และไม่ควรนำภาพละเมิดลิขสิทธิ์มาเผยแพร่ เพราะจะกระจายได้กว้างและไวมาก อาจจะสร้างปัญหาต่างๆ ให้องค์กรและตนเองได้
  • Video ก็สามารถนำเข้าและเผยแพร่ได้ลองหยิบกล้องถ่ายภาพดิจิทัลแล้วบันทึกภาพในโหมด Video พร้อมบรรยายแบบไม่ทางการมากนัก เพียงเท่านี้ก็สามารถ Upload และนำเสนอผ่าน Facebook ได้ง่ายๆ แล้วครับ
  • ประเด็นก็คือ Video ที่นำมาเผยแพร่ได้บันทึกและเป็นสมบัติของหน่วยงานหรือไม่อย่างไร
  • การโต้ตอบกับเพื่อนๆ สมาชิก อย่าให้สื่อสังคม เครือข่ายสังคม เช่น Facebook เป็นเพียงช่องทางถามอย่างเดียวนะครับ ควรมีบุคลากรสื่อสาร โต้ตอบ รวมทั้งการส่งต่อคำถามไปยังผู้เกี่ยวข้อง
  • การกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงเนื้อหาแ่ต่ละส่วนให้เหมาะสม อันนี้สำคัญมาก
  • การกลั่นกรองเนื้อหาเพื่อป้องกันการละเมิดปัญหาทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าไม่อยากถูกจับ หรือมีประเด็นฟ้องร้องควรให้ความสำคัญกับการนำเสนอภาพ ฟอนต์ (กราฟิก) และข้อความด้วยนะครับ เช่น การนำข้อความสำคัญจากหนังสือมาเผยแพร่ ซึ่งถือว่าเป็นการทำซ้ำ
  • การใช้ความสามารถอัตโนมัติเพื่อเผยแพร่ข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เช่น RSS Feed, TwitterFeed อันนี้มีจุดเด่นมากเช่นกัน
  • การเลือกใช้ Facebook Apps อย่างเหมาะสม และหมั่นตรวจสอบข้อมูลจากหลายๆ แหล่งว่าไม่ใช่ Spy & Spam Apps ที่จะไปสร้างภาระให้ผู้อื่นด้วย

10 ภัยอันตรายจาก Social Network ที่ควรระวัง


10  ภัยอันตรายจาก Social Network ที่ควรระวัง

1. หลอกว่ามาดีแต่จริงๆประสงค์ร้าย 
              การโจมตีแบบนี้ เป็นหนึ่งในวิธีการที่นิยมใช้เป็นอย่างมาก เน้นการโจมตีที่ตัวบุคคล โดยผู้ใช้งานมักจะคาดไม่ถึง และ ตกเป็น เหยื่อในที่สุด ส่วนมากจะมาในรูปแบบของ แอพพลิเคชั่นบน Facebook หรือการเล่นเกมเพื่อแลกของรางวัล เมื่อผู้ใช้งานคลิกเข้าไปใช้ งานแอพพลิเคชั่นหรือร่วมเล่นเกมดังกล่าว ก็จะตกเป็นเหยื่อของพวกอาชญากรโดยไม่ทันตั้งตัว
2. ล่อเหยื่อตกปลาออนไลน์
              ในอดีต เป็นเทคนิคการล่อลวงที่มักจะส่ง URL Link ที่ล่อให้ไปเข้าเว็บไซด์ปลอม ที่ส่งมาทางอีเมล โดยอาชญากร จะหลอกให้ผู้ใช้งานคลิก URL Link ที่อยู่ในอีเมล แต่ปัจจุบันอาชญากรจะส่ง URL Link ที่ย่อให้สั้นลง (URL Shorten) เช่น คลิปวิดีโอหรือไฟล์ของรูปภาพ และนำไปสู่เว็บไซด์ปลอม เพื่อดักขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ผ่านทางสังคมออนไลน์มากยิ่งขึ้น     
3. โค้ดร้ายฝังลึก        
              เป็นเทคนิคการโจมตีผู้ใช้งาน Facebook โดยอาชญากรจะทำการฝังโค้ด หรือสคริปต์การทำงานของตนเองเข้าไปบนหน้าเว็บไซด์ที่มีช่องโหว่ ซึ่งข้อมูลสำคัญของผู้ใช้ Facebook เช่น Username และ Password จะถูกส่งกลับมาให้อาชญากร แทนที่จะผ่านเข้าไปในเว็บไซด์ที่ผู้ใช้ Facebook กำลังเยี่ยมชมอยู่
4. ถูกสวมรอยง่ายๆ แค่เล่น Facebook อย่างไม่ระวัง
              เป็นวิธีการที่อาชญากรใช้ในการโจมตีผู้ใช้ Facebook หรือ Internet Banking โดยการแอบขโมยสิทธิ หรือ Credential ที่ผู้ใช้ได้ล็อกอินเว็บไซด์ ค้างไว้ ซึ่งอาชญากรอาจนำ Credential ของเราไปใช้งานต่อ เช่น ทำการโอนเงินออก จากบัญชีของผู้ใช้งานระบบ Internet Banking โดยผู้ใช้ไม่รู้ตัว เป็นต้น
5.หลอกให้คลิกแต่แอบซ่อนมีดไว้รอเชือด
              เป็นเทคนิคการโจมตีผู้ใช้งาน โดยหลอกให้คลิกรูป ที่ดูล่อตาล่อใจบนเว็บไซด์ ซึ่งอาชญากรจะแอบซ่อน Invisible frame ไว้หลังรูป เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างที่เหยื่อไม่รู้ตัวเลยว่ามี Script มุ่งร้ายแอบซ่อนอยู่
6. โดนหลอกล่อให้ไปเจอ Link ที่อาชญากร รออยู่ 
              ผู้ใช้งาน Facebook อาจถูกโจมตี ด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย ที่สามารถทำการติดตั้งลงบนเครื่อง ของผู้ใช้งาน Facebook เพียงแค่ผู้ใช้งานเข้าไปเยี่ยมเว็บไซด์ ที่อาชญากรโพสต์ เป็น Link ล่อเหยื่อไว้บน Facebook Page และผู้ใช้งาน เผลอดาวน์โหลดโดยไม่รู้ตัว
7. เทคนิคการโจรกรรมข้อมูลขั้นสูงแบบต่อเนื่อง
   
              เป็นเทคนิคการโจมตีขั้นสูงที่มุ่งเน้นเป้าหมายผู้ใช้งาน Internet Banking ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับองค์กร หรือ รัฐบาล โดยอาชญากรสามารถฝังโปรแกรมมุ่งร้าย เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย เพื่อแอบโจรกรรมข้อมูลลับ อย่างต่อ เนื่อง เป็นระยะเวลานาน ซึ่งยากต่อการตรวจสอบด้วยโปรแกรม Anti-virus ทั่วไป
              สำหรับ MitB (Man-In-The-Browser Attack) เป็นเทคนิคในการโจมตีที่หลัง Browser ของเหยื่อ มักจะใช้ในการ ทำ Indentity Theft ด้วยเทคนิค Web Field Injection
8. โดนดักข้อมูลลับระหว่างทาง 
              เป็นเทคนิคการโจมตีผู้ใช้งาน Facebook โดยอาชญากรจะทำการดักจับข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่างผู้ใช้งาน Facebook กับ   www.facebook.com   แบบเงียบ เพื่อขโมย Username และ Password ของผู้ใช้ และอาจลุกลามไปถึง E-mail Accountด้วย ถ้าใช้ Username และ Password เดียวกัน กับ Facebook
9. บอกเพื่อนว่าเราอยู่ไหน (บอกโจรว่าเราไม่อยู่บ้าน)
              การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook หรือ Twitter นั้น อาจทำให้ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบัน (GPS Location) ของผู้ใช้งาน Facebook หรือ Twitter สามารถถูกเปิดเผยสู่สาธารณะได้ โดยที่เราไม่รู้ตัว จากการใช้งานโปรแกรม ประเภท Foursquare, Google Latitude และ Facebook Place
10. ระวังข้อมูลส่วนตัวหลุดรั่วขณะเล่น Facebook เพลินๆ
              ข้อมูลส่วนต้วของผู้ใช้ Facebook อาจถูกเปิดเผยสู่สาธารณะได้ ถ้าผู้ใช้งาน Facebook ไม่ได้ปรับแก้การตั้งค่าแบบDefault ให้เป็นแบบที่ปลอดภัยมากขึ้น

ข้อเสียของ Social Network


ข้อเสียของ Social Network
 
  • เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
 
  • Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์
 
  • เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น
 
  • ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กำหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้
 
  • ผู้ใช้ที่เล่น social  network และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจสายตาเสียได้หรือบางคนอาจตาบอดได้      
 
  • ถ้าผู้ใช้หมกหมุ่นอยู่กับ social  network มากเกินไปอาจทำให้เสียการเรียนหรือผลการเรียนตกต่ำลงได้
 
  • จะทำให้เสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์

10 อันดับแอพขวัญใจชาวโซเชียลที่นิยมใช้กันมากที่สุด


10 อันดับแอพขวัญใจชาวโซเชียล
เว็บไซต์ต่างประเทศชื่อดังอย่าง techinasia.com เปิดเผย 10 อันดับแอพพลิเคชั่นชื่อดังที่ติดอันดับการดาวน์โหลดมากที่สุด ประจำเดือนมกราคม ที่ผ่านมาซึ่งนั้นเราจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้นั้น App Social network มีให้เราเลือกเล่นหลากหลาย หากตัวไหนไม่ดีจริง ไม่มีจุดเด่นเป็นของตัวเองมักจะมาไว และอยู่ในกระแสได้ไม่นาน หลังจากนั้นแอปพลิเคชั่นเหล่านั้นจะค่อยๆ เงียบหายไป
ปัจจุบันหากเอ่ยถึง Social network ที่เราคุ้นเคยกันคงไม่พ้นแอพพลิเคชั่นดังอย่าง Facebook, Twitter, Google+, Instagram หรือพูดง่ายๆ คือแอพที่คนส่วนใหญ่นิยมเล่นกัน
แต่สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งนั้นคือ "แอพพลิเคชั่น" อันดับต้นๆ ที่ติดอันดับและได้รับความนิยมนั้นมาจากฝั่งยุโรปเป็นส่วนใหญ่ แต่การจัดลำดับครั้งหลังๆ เราจะได้พบกับ App ที่พัฒนาโดยบริษัทในแถบเอเชีย ซึ่งล่าสุดก็พบว่า App ชื่อดังอย่าง Wechat สามารถทะลุขึ้นมาอยู่ในลำดับที่ 6 
มาดูกันว่า แอพพลิเคชั่นที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดบนระบบปฏิบัติการ iOS ทั้ง 10 อันดับ ประจำเดือนมกราคม มีอะไรกันบ้าง
Facebook Messenger  >>> Facebook
Facebook Messenger นั้นเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับแชทกับเพื่อนๆ แอพนี้มีไว้สำหรับแชทอย่างเดียวครับ ตัว Facebook Messenger เป็นแอพแชทที่ทาง Facebook เป็นคนส่งออกมา มันจะช่วยให้เราลดขั้นตอนในการแชตกับเพื่อนๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น จริงๆ มันเป็นส่วนหนึ่ง Facebook ที่ออกมาให้เราได้แชทกันโดยไม่ต้อง Login เข้า Facebook
Find My Friends   >>> Apple
Find My Friends นั้นเป็น App ที่ทำงานคู่กับระบบ GPS ใน iPad และ iPhone โดยความสามารถก็เหมือนกับชื่อของ App นั้นคือการตามหาเพื่อน เหมาะสำหรับคนเหงาๆ อย่างเราแต่ใครที่แฟนชอบจับผิดผมไม่แนะนำนะครับ อันตราย 555
Facebook  >>> Facebook
Facebook เป็น social network ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งของโลก นอกจากให้เราลงรูปลงข้อมูลของเราเพื่อนำเสนอแล้ว ยังมีจุดเด่นที่มีเกมให้เล่นออนไลน์ คือเล่นเกมกับคนอื่นที่อยู่คนละมุมประเทศหรือมุมโลกได้ ถ้าออนไลน์พร้อมกัน
ตอนนี้คงต้องยอมรับในความแรงของ Facebook เพราะถ้าให้บอกว่าใครไม่มีมันเป็นไปได้น้อยมาก แต่ถ้าบอกว่ามีแต่ไม่ได้เข้าไปเล่นก็อีกเรื่องหนึ่งครับ
Twitter  >>> Twitter
ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือ ทวีต (tweet - เสียงนกร้อง) ทวิตเตอร์ก่อตั้งขึ้นโดย แจ็ก คอร์ซีย์ ,บิซ สโตน และ อีวาน วิลเลียมส์ เจ้าของบริษัท Obvious Corp ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006
ทวิตเตอร์ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างมาก จนนิตยสารไทม์ ฉบับวันที่ 15 มิ.ย. 2009 ได้นำเอาทวิตเตอร์ขึ้นปก เป็นเรื่องเด่นประจำฉบับ และบทบรรณาธิการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงการนำเสนอข่าว ที่มีที่มาจากเทคโนโลยีใหม่อย่างทวิตเตอร์
Skype  >>> Microsoft
Skype (สไกป์) คือ โปรแกรมที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยข้อความ (Chat) ข้อความเสียง (VoIP) และภาพจากกล้องโดยจะเป็นการสื่อสารกันแบบ Real Time ลักษณะจะคล้ายกับ MSN (Windows Live Messenger) แต่ Skype จะให้คุณภาพเสียงคมชัดกว่าอยากเห็นได้ชัด และยังมีระบบ Video Conference เพื่อสนทนากันแบบตัวต่อตัว หรือประชุมสายพร้อมกันหลายคนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลก (สูงสุด 10 คนพร้อมกัน)
ประโยชน์ของ Skype ก็เช่น ใช้ทำ Video Conference เพื่อสนทนากันแบบตัวต่อตัว หรือประชุมสายพร้อมกันหลายคนผ่าน Internet ได้ทั่วโลก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงคุณมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว
WeChat  >>> Tencent
WeChat ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการสำหรับประเทศไทยมาได้สักระยะแล้ว หลายคนอาจรู้จัก WeChat กันมาบ้างแล้วจากข่าว หรือจากโฆษณาทีวี ฟีเจอร์หลักของ WeChat นั้นคือฟีเจอร์ที่ครบเครื่อง การติดต่อที่ทำได้ทั้งข้อความ เสียง วิดีโอ ทั้งยังใช้งานง่าย
และที่โดดเด่นอีกเรื่องคือ...การรองรับที่ครอบคลุมแทบทุกระบบปฏิบัติการมือถือไม่ว่าจะเป็น iPhone, Android, Windows Phone, Symbian และเว็บไซต์ รวมถึงฟีเจอร์เสริมที่เพิ่มเข้ามาอีกมากมาย (สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี)
Viber  >>> Viber Media
Viber เป็นแอพลิเคชันในหมวดของผู้ให้บริการ VOIP (Voice Over IP) ที่สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store ได้ฟรี ความสามารถของ Viber คือการโทรหาเบอร์ของ Viber ด้วยกันแบบฟรีๆ โดยเครื่องที่จะโทรหา ได้นั้นต้องติดตั้ง Viber ลงที่เครื่องนั้นด้วย และเชื่อมต่อ กับ Wifi 3G หรือ Edge แล้วครับ (3G และ Edge เสียค่าบริการ แล้วแต่เครือข่ายที่ใช้งาน)
Pinterest  >>> Pinterest
Pinterest คือสื่อสังคมออนไลน์แนวใหม่ (Social Network) ที่มาแรงมากถ้าเทียบอัตราการเติบโตกับการเปิดตัวใหม่ๆ มีจุดเด่นคือการสร้างกระดานส่วนตัวขึ้นมาแล้วก็นำเรื่องราวหรือรูปที่น่าสนใจนั้นไปปักหมุดเอาไว้ ทั้งนี้การปักหมุด (เรียกว่าการ Pin) เปิดตัวโดยทีมจาก Palo Alto, California
Skype for iPad  >>> Microsoft

Skype โปรแกรม VoIP หรือที่ใช้โทรศัพท์หรือ Video Calling ผ่านอินเทอร์เน็ตเน็ตยอดนิยม หลังจากได้บุกทั้งในโลกของเครื่องเดสท๊อป และอุปกรณ์พกพาอย่างพวกสมาร์ทโฟนทั้งหลายแล้ว คราวนี้เป็นคิวของ iPad พูดง่ายๆ คือเป็นแอพพลิเคชั่น เสริมที่สร้างขึ้นมาให้เล่นได้ง่ายขึ้น และไม่จำเป็นต้องเล่นบนเครื่องเดสท๊อปแค่อย่างเดียวอีกต่อไป

Tango  >>> TangoMe
โปรแกรม Video Call บนโทรศัพท์มือถือที่กำลังมาแรงอีกตัวหนึ่ง แชทออนไลน์ โทรฟรี เล่นเว็บแคม มีคุณสมบัติต่างๆ มากมาย เหมาะสำหรับคนชอบแชท นอกจากนี้นั้นมันยังสามารถเล่นเว็บแคม หรือที่เรียกว่า facetime ได้อีกด้วย โดยที่ไม่จำเป็นว่าต้องใช้ระบบปฏิบัติการ iOS หรือ Android เพราะ แอพ Tango สามารถใช้งานได้ทั้ง 2 ระบบปฏิบัติการ


วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทความเรื่องโซเซียลเน็ตเวิร์ค

Social Network   

           social network   คือ   สังคมของโลกแห่งอินเตอร์เน็ท  หรือเรียกว่าสังคมของมนุษย์ที่ติดต่อสื่อสารกันด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอินเตอร์เน็ท ทางโทรศัพท์ ทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และอื่น ๆ ที่ไร้สาย
ในโลกอินเทอร์เน็ตปัจจุบันนี้รูปแบบของเว็บไซต์ที่เป็น โซเชียล เน็ตเวิร์คได้มีเพิ่มมากขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งเว็บในรูปแบบของโซเชียล เน็ตเวิร์ค คือ เว็บที่คุณสามารถ “สร้าง” ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเพื่อนได้ผ่านเว็บไซต์ในรูปแบบเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายจาก เพื่อนสู่เพื่อน ทำให้ติดต่อสื่อสารกันสะดวกมากยิ่งขึ้นแต่ในทางกลับกันก็มีภัยด้านมืดของโซเชียลเน็ตเวิร์คที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัว‘การใช้งานโซเชียล เน็ตเวิร์กที่แพร่หลาย พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่เป็นนักเรียน  นักศึกษา  มีเพียง 4 ใน 100  คนที่รู้ด้านลบของการใช้ โซเชียล เน็ตเวิร์ก  และรู้ว่าต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง’  เป็นคำกล่าวของ ปริญญา หอมเอนก  นักวิชาการและกรรมการและเลขานุการ สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ ปริญญา มองว่า กระแสโซเชียล เน็ตเวิร์กที่มาแรงมากๆ แต่การเล่นโซเชียล เน็ตเวิร์กกำลังกลายเป็นดาบสองคม   ถ้าใช้ไม่ระวังก็จะเป็นภัยกับตัวเอง  รวมทั้งองค์กร  โดยเฉพาะการทวิต หรือ โพสต์ข้อมูลที่อาจเป็นช่องโหว่ให้อาชญากรไซเบอร์  ใช้เป็นข้อมูลในการคุกคามผู้ใช้ได้ง่ายๆ   
  

ทดสอบวีดีโอ INNA - Wow

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โซเซียลเน็ตเวิร์ค


โซเชียลเน็ตเวิร์ค

 social network   คือ   สังคมของโลกแห่งอินเตอร์เน็ท  หรือเรียกว่าสังคมของมนุษย์ที่ติดต่อสื่อสารกันด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอินเตอร์เน็ท ทางโทรศัพท์ ทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และอื่น ๆ ที่ไร้สาย
ในโลกอินเทอร์เน็ตปัจจุบันนี้รูปแบบของเว็บไซต์ที่เป็น โซเชียล เน็ตเวิร์คได้มีเพิ่มมากขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งเว็บในรูปแบบของโซเชียล เน็ตเวิร์ค คือ เว็บที่คุณสามารถ “สร้าง” ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเพื่อนได้ผ่านเว็บไซต์ในรูปแบบเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายจาก เพื่อนสู่เพื่อน ทำให้ติดต่อสื่อสารกันสะดวกมากยิ่งขึ้นแต่ในทางกลับกันก็มีภัยด้านมืดของโซเชียลเน็ตเวิร์คที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัว‘การใช้งานโซเชียล เน็ตเวิร์กที่แพร่หลาย พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่เป็นนักเรียน  นักศึกษา  มีเพียง 4 ใน 100  คนที่รู้ด้านลบของการใช้ โซเชียล เน็ตเวิร์ก  และรู้ว่าต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง’  เป็นคำกล่าวของ ปริญญา หอมเอนก  นักวิชาการและกรรมการและเลขานุการ สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ ปริญญา มองว่า กระแสโซเชียล เน็ตเวิร์กที่มาแรงมากๆ แต่การเล่นโซเชียล เน็ตเวิร์กกำลังกลายเป็นดาบสองคม   ถ้าใช้ไม่ระวังก็จะเป็นภัยกับตัวเอง  รวมทั้งองค์กร  โดยเฉพาะการทวิต หรือ โพสต์ข้อมูลที่อาจเป็นช่องโหว่ให้อาชญากรไซเบอร์  ใช้เป็นข้อมูลในการคุกคามผู้ใช้ได้ง่ายๆ   
 

Sample text

Sample Text

Sample Text